นิตยสารแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดเกี่ยวกับอากาศอัด และ Trace Analytics LLC ได้ให้ความชัดเจนของข้อสงสัยนี้ เกี่ยวกับกาทดสอบอากาศอัด ภายในอุตสาหกรรมการผลิต ดังนี้
อากาศอัดมีกิจกรรมถูกใช้งานมากกว่า 70% ในอุตสาหกรรมการผลิต และเมื่อใช้อากาศอัดในการผลิต ยา อาหาร เครื่องดื่ม อุปกรณ์ทางการแพทย์ และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ดูเหมือนว่าจะมีความสับสนว่า ต้องทำการทดสอบอะไรบ้าง
ในอากาศอัดมีสารปนเปื้อนอะไรบ้าง?
สถาบันอากาศอัดและก๊าช Compressed Air & Gas Institute(CAGI) อ้างอิงสารปนเปื้อน 10 ชนิดที่อยู่ใน 4 หมวดหมู่:
ISO 8573-1:2010 คือมาตรฐานระดับสากลของข้อกำหนดด้านคุณภาพอากาศอัด ที่จัดการกับสารปนเปื้อนจำเพาะที่เหมือนกันเหล่านี้ โดยจัดให้มีระดับ Class การปนเปื้อนที่หลากหลายสำหรับ ฝุ่น น้ำ และน้ำมัน ไม่รวมถึงระดับ Class ของก๊าช หรือจุลินทรีย์
การใช้มาตรฐาน การทดสอบอากาศอัด
ISO 8573 ประกอบด้วย 9 ส่วน ที่ถูกอ้างอิงบ่อยที่สุดคือ ISO 8573-1 ส่วนที่ 2 ถึง 9 จะใช้เทคนิคการวิเคราะห์และสุ่มตัวอย่างที่แตกต่างกันออกไป ผู้ผลิตเครื่องอัดอากาศและชุดกรอง หลายรายอ้างอิงระดับ Class ตาม ISO 8573-1:2010 เพื่ออธิบายคุณภาพอากาศที่สามารถผลิตได้จากผลิตภัณฑ์ของตน
แผนภูมิรูปภาพด้านล่างสรุปและแสดงระดับ Class การปนเปื้อน Class 0 ถึง Class X สำหรับ ฝุ่น น้ำ และน้ำมัน จากส่วนนี้ผู้ใช้สามารถเลือกระดับ Class การปนเปื้อนแต่ละรายการ โดยพิจารณาจากอุปกรณ์ที่ติดตั้ง หรือคุณภาพอากาศที่จำเป็นสำหรับกระบวนการ หรือผลิตภัณฑ์เฉพาะนั้นๆ
สิ่งปนเปื้อน และขีดจำกัดที่ต้องการทดสอบ ถูกกำหนดจากระบบเครื่องอัดอากาศและชุดกรอง ณ จุดใช้งานที่เลือกไว้สำหรับโรงงานผลิต และสายการผลิตของผลิตภัณฑ์นั้นๆ
สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับการปนเปื้อนทางจุลชีววิทยา และก๊าชอื่นๆในอากาศอัดโดยใช้ ISO 8573 อ่านเพิ่มเติมที่นี่
มีคำแนะนำในการเลือก Class หรือไม่?
โดยทั่วไปแล้วอากาศที่สะอาดและแห้งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับ อาหาร เครื่องดื่ม ยา และอุตสาหกรรมอื่นๆที่ผลิต ผลิตภัณฑ์สำหรับการบริโภค
ไม่มีข้อกำหนด ด้านคุณภาพอากาศในลักษณะบังคับ หรือเป็นคำสั่งให้ทำตาม มีเพียงข้อความทั่วๆไปเท่านั้น เช่น :
หัวข้อที่จะตรวจสอบมีอะไรบ้าง?
A) ตรวจสอบเพื่อยืนยันว่าคุณภาพอากาศอัดเป็นไปตามข้อกำหนดที่ระบุไว้ในเอกสารการควบคุมคุณภาพขององค์กร หรือ B) ระบุคุณภาพอากาศอัดที่เหมาะสมสำหรับผลิตภัณฑ์ที่ผลิตเมื่อเวลาผ่านไปแล้วระยะเวลาหนึ่ง เพื่อให้สามารถเลือก Class และจัดทำเอกสารระดับ Class นี้ได้
อ้างอิงจาก: https://www.airchecklab.com/food/using-iso-8573-to-test-compressed-air-in-manufacturing/
แปลและเรียบเรียงโดย: ชินวัจน์ ชนะโยธินพงษ์